วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) คือการคิดหลายๆแง่หลายๆทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมี ออกรอบด้าน คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็น
คนที่มีความคิดริเริ่ม(Originality)  คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิดธรรมดาของคนทั่วๆไป
มีความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทางหลายแง่หลายมุม
มีความคิดคล่องแคล่ว(Fluency)  คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด
มีความคิดละเอียดลออ(Elaboration) คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สรุป คือ ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดของบุคคลที่มีความคิดเป็นของตนเอง มีความคิดที่กว้างขวางไม่มีข้อจำกัด มีความเฉียบคม คิดเร็ว และรอบคอบ

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
                การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไป จากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก ก่อนวัยเรียน ( อายุ 0-๖ ปี ) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรกด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ ๒ ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ ๒ ๔ ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง ๔ ๖ ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุการณ์มากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง
                ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความคิดส่วนบุคคลที่สามารถคิดได้อย่างหลากหลายและคิดได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ เราสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก สามารถสรุปได้ ดังนี้
๑.      มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ กระตุ้นความคิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น
๒.    ชอบสืบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและทดลอง
๓.     ชอบซักถาม พูดคุยและตั้งคำถามที่แปลกๆ
๔.     ช่างสงสัยและแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ
๕.     ช่างสังเกต จดจำ และค้นพบสิ่งที่ขาดหายไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
๖.      ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ถ้าเกิดข้อสงสัยจะต้องรีบหาคำตอบโดยไม่ต้องรีรอ
๗.     มีอารมณ์ขันเสมอ สร้างความสุขในโลกส่วนตัวด้วยมุมมองที่แปลก
๘.     มีสมาธิในสิ่งที่ตนสนใจ
๙.      พึงพอใจและสนุกสนานกับการใช้ความคิด
๑๐.  สนใจสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง
๑๑. มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เปิดกว้างทางความคิดเพื่อพิจารณา
๑๒.                        มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความเชื่อมั่นทางความคิดและการกระทำ
๑๓.มีความสามารถทางด้านการจินตนาการ ชอบคิดหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้แก้ปัญหา
สรุป คือ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมและตนเองได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝน โดยเน้นกระบวนการ เทคนิควิธีเป็นสำคัญ มากกว่าการเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาสาระ เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดีที่แฝงเร้นภายใต้ตัวตนของบุคคล การส่งเสริม และพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัยจึงสามารถที่จะกระทำได้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย

อ้างอิง
Guilford. (๑๙๕๙). ความหมายของความคิดสร้างสรรค์. หน้า ๓๘๙.

______. (๒๕๕๒).______. คู่มือครูนิทานเพื่อนรัก ระดับ ๒, ปีที่ ๘ (ฉบับที่ ๘๓),

วีณา ประชากูล. (๒๕๔๙). ______. วารสารวิชาการ, ปีที่ ๙ (ฉบับที่ ๔ ตุลาคม – ธันวาคม),

ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (๒๕๔๒). การศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญา และเรียนรู้ ภาควิชา    การศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ผู้ปกครองช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ของลูกปฐมวัยได้อย่างไร
. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.preschool.or.th/journal_create_parent.html

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเรียนรู้. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: www.seal2thai.org/sara/sara146.htm

______. (๒๕๕๔). ผลการจัดการเรียนการสอนและเจตคติต่อการเรียนการสอนตามการรับรู้

ของนักศึกษารายวิชาการคิดและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.ried.cmru.ac.th/UserFiles/File/classroom/tussanee.pdf

0 ความคิดเห็น:

:a: :b: :c: :d: :e: :f: :g: :h: :i: :j: :k: :l: :m: :n:

แสดงความคิดเห็น