วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์

กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์
            กระบวนการคิดสร้างสรรค์(Creative process)
                กระบวนการคิดสร้างสรรค์คือ วิธีคิดหรือกระบวนการทำงานของสมองที่มีขั้นตอนต่างๆในการคิดแก้ปัญหาจนสำเร็จ ซึ่งมีหลายแนวคิดเช่น
                Wallas ได้เสนอว่ากระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการคิดสิ่งใหม่ๆโดยการลองผิดลองถูก ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนคือ
๑.      ขั้นเตรียมการ คือการข้อมูลหรือระบุปัญหา
๒.    ขั้นความคิดกำลังฟักตัว คือการอยู่ในความสับสนวุ่นวายของข้อมูลที่ได้มา
๓.     ขั้นความคิดกระจ่างชัด คือขั้นที่ความคิดสับสนได้รับการเรียบเรียงและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้เห็นภาพรวมของความคิด
๔.     ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง คือขั้นที่รับความคิดเห็นจากสามขั้นแรกข้างต้นมาพิสูจน์ว่าจริงหรือถูกต้องหรือไม่

Hutchinson มีความคิดคล้ายๆกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ที่คิดใช้เวลาการคิดเพียงสั้นๆอย่างรวดเร็วหรือยาวนานก็อาจเป็นไปได้ โดยมีลำดับการคิดดังนี้
๑.      ขั้นเตรียมเป็นการรวบรวมประสบการณ์ มีการลองผิดลองถูกและตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา
๒.    ขั้นครุ่นคิดขัดข้องใจ เป็นระยะที่มีอารมณ์เครียด อันสืบเนื่องจากการครุ่นคิด แต่ยังคิดไม่ออก
๓.     ขั้นของการเกิดความคิด เป็นระยะที่เกิดความคิดในสมอง เป็นการมองเห็นวิธีแก้ปัญหาหรือพบคำตอบ
๔.     ขั้นพิสูจน์ เป็นระยะการตรวจสอบประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ต่างๆเพื่อดูคำตอบที่คิดออกมานั้นเป็นจริงหรือไม่
Roger von Oech เจ้าของบริษัทความคิดสร้างสรรค์ในอเมริกาได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์ โดยแยกความคิดออกเป็น ๒ ประเภทคือความคิดอ่อนและความคิดแข็ง

ความคิดอ่อน
ความคิดแข็ง
อุปมาอุปมัย
หลักการ
ความฝัน
เหตุผล
ความขำขัน
ความแม่นยำ
ความคลุมเครือ
ความสม่ำเสมอ
การเล่น
การทำงาน
การประมาณการ
ความพอดิบพอดี
ความใฝ่ฝัน
ความเป็นจริง
ความขัดแย้ง
ตรงไปตรงมา
การสังหรณ์ใจ
การวิเคราะห์
โดยทั่วไป
อย่างเฉพาะเจาะจง
อย่างเด็ก
อย่างผู้ใหญ่


ความคิดแข็ง นั้นจะมีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างแน่นอน แต่ความคิดอ่อนนั้นอาจมีคำตอบที่ถูกหลายอย่าง  ซึ่ง ฟอนโอช ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าประกอบด้วย ๒ ขั้นตอนคือ กระบวนการเพาะตัวและกระบวนการปฏิบัติการ โดยกระบวนการเพาะตัวเป็นการสร้างความคิดใหม่ ในขณะที่กระบวนการปฏิบัติการเป็นการใช้ความคิดที่คิดขึ้นมาไปปฏิบัติงานจริง
ความคิดอย่างอ่อน เป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเพาะตัว ซึ่งเป็นระยะที่กำลังมองหาความคิดใหม่ๆ เป็นการมองที่กว้างๆเพื่อหาวิธีการต่างๆมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ส่วนความคิดอย่างแข็งนั้นมักใช้ในช่วงการปฏิบัติงานจริงๆ เมื่อต้องการประเมินความคิดและขจัดสิ่งต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแก้ปัญหาออกไป ตรวจดูผลดีผลเสียและความเสี่ยงรวมทั้งการเตรียมที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นการกระทำด้วย
กระบวนการของการคิดสร้างสรรค์
มนุษย์มีวิวัฒนาการทางความคิดแตกต่างกันออกไป ทางด้านสมองซีกซ้าย ประสานการทำงานสมองซีกขวา เกิดแรงบันดาลใจ สร้างสิ่งต่างๆรอบตัว ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ มีอยู่ทุกคนที่ต้องอาศัยประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือการจดจำมากระตุ้นให้เกิดมโนทัศน์ทางจินตนาการ เป็นการแสวงหาความต้องการ ที่จะพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่กับโลกใบนี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด                                                                        ขีดจำกัดของมนุษย์คือความคิดที่หยุดนิ่ง ไม่สามารถต่อยอดต่อไปได้ เกิดจากปัญหาของช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ในสภาพวะที่ร่างกายอยากพักผ่อน การกระทบแรงกดดันอะไรที่สูง หรือแม้แต่การไม่เปิดใจรับอะไรใหม่ๆที่เกิดขึ้น ทำให้เราไม่สามารถควบคุมความคิดได้เป็นการปิดกั้นจิตนาการ                  สมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบ การทำงานทุกชนิด ของร่างกาย สมองของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์ สมอง ประมาณ ร้อยล้านล้านเซลล์ เป็นจำนวนที่ไม่แตกต่างกัน ระหว่าง ทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่เซลล์สมอง จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และจะมีจำนวน เดนไดรท์ (dendrite) ของเซลล์สมองมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมองมากขึ้น โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่ง ๆ จะเชื่อมโยงไปยังเซลล์สมองเซลล์อื่น ๆ อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์ เพื่อส่งข่าวสารกัน โดยกระแสประสาท จะเกิดปฏิกิริยาเรียกว่า synapse แล้วแต่ว่าจะเป็นด้านรับ- ส่งสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ความรู้สึก ความจำ อารมณ์ทั้งหลาย ฯลฯ จึงผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้นำ ไปสู่การปรับตัว อย่างเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ละคน ( พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์, ๒๕๔๒ :๗)*                                                                                                                                                                         รอเจอร์ สเพอร์รี และ รอเบิร์ต ออร์นสไตน์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียได้รับรางวัลโนเบลในปี ค. ศ. ๑๙๗๒ จากการค้นพบ ว่า สมองของคนเราแบ่งออกเป็น ๒ ซีก คือสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) กับสมองซีกขวา (Right Hemisphere) และแต่ละซีก มีหน้าที่ที่แตกต่างกันดังนี้
สมองซีกซ้าย สมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ใน เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้                                     ๑. การคิดในทางเดียว ( คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง)                                                                                       ๒. การคิดวิเคราะห์ ( แยกแยะ)                                                                                                                       ๓. การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์                                                                          ๔. การใช้ภาษา มีทั้งการอ่านและการเขียน
สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะ การทำงานในสาย ของวิชาทางวิทยาศาสตร์ ( Sciences ) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็น ตัวควบคุม การกระทำ การฟัง การเห็น และ การสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกายทางซีกขวา
ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการที่บุคคลไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆ ไวต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไวต่อการเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดสอบและทดสอบอีกครั้งเกี่ยวกับสมมติฐาน จนในที่สุดสามารถนำเอาผลที่ได้ไปแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นได้” (Torrance, 1962) ความคิดสร้างสรรค์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันในทุกสายอาชีพ หลายๆศาสตร์ความรู้ ทั้งทางด้านจิตวิทยา, วิทยาการการรู้, การศึกษา, ปรัชญา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาทางวิทยาศาสตร์), เทววิทยา, สังคมวิทยา, ภาษาศาสตร์, ธุรกิจศึกษา และเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะสายอาชีพด้านการออกแบบที่จะใช้สมองซีกซ้ายในคิดเป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน ทั่วโลกต่างรู้จักกันดี กล่าวว่า จิตนาการสำคัญกว่าความรู้หากมองในภาพของความรู้ ความรู้คือการทำความเข้าใจกับบางสิ่งที่เราอยากจะรู้หรือเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจะรู้แต่โดนสถานการณ์บังคับให้รับรู้ ส่วนในเรื่องของจิตนาการการคือความฝันของเราที่อาจเป็นจริงได้หรือไม่เป็นจริงเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง                                                                                         ในรูปแบบของการคิดสร้างสรรค์มีอยู่มากมาย กล่าวสรุปได้เป็นเรื่องของ 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ สังเกต +เพ้อฝัน การจดจำหรือการบันทึกที่จะสะสมประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน ทำงาน และการนอนหลับ ตื่นมาเราทำอะไรบ้าง ฝึกคิดและมองสิ่งที่อยู่รอบตัว การจดบันทึกจะช่วยให้เกิดทักษะการจำมากระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ เช่น ขณะโดยสารรถประจำทาง มองไปรอบๆด้าน จะทำให้เกิดความคิดต่างๆที่จะแก้ปัญหามากมาย ในรูปแบบของการเพ้อฝันไปสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย ในความคิดหลายแง่มุม มานำเสนอให้เกิดรูปแบบทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมต่าง โดยต้องอาศัยวิธีการต่างๆ
คิดนอกเรื่อง คิดนอกกรอบ ตั้งคำถามประเด็นว่าทำไม แล้วจะเป็นไปได้ไหม ชาวญี่ปุ่นจะขายแตงโม แต่ทำยังไงให้เป็นเอกลักษณ์และตั้งคำถามว่าทำไมแต่งโมต้องเป็นรูปกลม ปัจจัยอันนี้ทำให้เกิดแรง ผลักดันในการค้นหาตัดต่อพันธุกรรมของแตงโมสุดท้ายได้ลูกแตงโมที่แปลกตาออกไป เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสีเขียวรสชาติคงเดิมแต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือความแปลกใหม่ให้กับผู้พบเห็น
ค้นหาแรงผลักดัน มาเป็นสิ่งเร้าในการค้นหา การพยายามสร้างแรงผลักดันจะช่วยเสริมให้เราสามารถคิดอะไรที่แตกต่างออกไป การนำสิ่งต่างๆที่เรามองออกไปจากรอบตัวเรามากระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ต้องอาศัยการเพ้อฝันในบางครั้ง จะช่วยให้มีแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากกรอบเดิม
มองเรื่องง่ายๆ ผลงานการออกแบบทีได้รับรางวัลมากมาย ในเรื่องของการโดนใจกรรมการมากที่สุด จะเป็นการนำเสนอในเรื่องความโดดเด่นของอัตตาลักษณ์ ที่มองเรื่องง่ายๆของการนำเสนอแล้ว ดึงดูดความสนใจ บางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดอะไรเยอะ ซับซ้อน มองหาความเรียบง่าย รูปทรงเรขาคณิตมีใช้ในการออกแบบอย่างแพร่หลาย หรือภาพเขียนในสมัยก่อนใช้รูปร่างของธรรมชาติในการบันทึกความเป็นมาในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี
พัฒนารูปแบบเดิมๆ สิ่งที่เดิมๆเก่าแก่ก็มีคุณค่า แต่ต้อรับกับสมัยนิยมในปัจจุบัน การนำรูปแบบที่มีอยู่เดิมมาต่อยอดความคิดจะช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นไป มีความสมบูรณ์มากขึ้น ตอบสนองความต้องการได้ดี
อารมณ์ดี คิดบวก เป็นการมองภาพสร้างความเชื่อมันให้กับตัวเองเชื่อในสิ่งที่ตัวเองจะทำ เป็นการเสริมแรงความมั่นใจและมีทัศนะคติที่ดีในการคิดสร้างสรรค์ เช่น การสร้างอารมณ์จากการฟังเพลง การฟังเสียงจากธรรมชาติ หรือการนั่งพักผ่อนหรือ ฝึกสมาธิ การควบคุมจิตใต้สำนึกให้ สดใส สดชื่น เบิกบาน เป็นการเปิดสมอง ให้มีความคิดอะไรใหม่
ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ บางทีจิตนาการความคิดอาจหยุดลง หากมีตัววัฒนธรรมต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ดีงามหรือสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคม อาจจะอาศัยแนวคิดเก่ามาผสมกับแนวคิดให้ลองฉีกกรอบแนวคิดและกลับเข้าสู่ความจริงดูความเหมาะสมว่าเป็นไปได้หรือไม่
เปิดใจแลกเปลี่ยนทัศนะ ยอมรับความคิดเห็นมุมมองใหม่ หรือเรียกว่า ไม่ปิดกั้นตัวเองในการเสพความรู้ประสบการณ์ต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้มีสัมพันธภาพและมีพัฒนาการความคิดดี
ความคิดสร้างสรรค์มีการพัฒนาการอยู่เรื่อย เป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงาน ให้เป็นที่ยอมรับแก่มวลชน กิลฟอร์ด* * กล่าวถึงบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่า จะต้องมีความฉับไวที่รู้ปัญหาและมองเห็นปัญหา มีความว่องไวและสามารถจะเปลี่ยนความคิดใหม่ๆได้ง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของชีวิตที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงจึงจะทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างมีความสุข ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยปกติคนเราทั่วไปมักเลือกวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหามากกว่าการเผชิญปัญหา ซึ่งถ้าคนเรารู้จักที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานร่าเริงและความสุขมากยิ่งขึ้น โดยวิธีการในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนการคิดกระบวนการค้นหาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่ในแต่ละบุคคล แต่ละสภาพแวดล้อม มีหลากหลายรูปแบบต่างๆ เช่น                                                                                                                                                                                                   - ฝึกฝนที่จะเรียนรู้และพยายามกระตุ้นค้นหาความรู้ คือความพร้อมใจที่อยากจะรู้ในเรื่องที่เราสนใจเป็นเรื่องราวในการฝึกคิดฝึกทักษะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า                                                                                                     - ยอมรับฟังผลงานเปิดใจกว้างในการเสพสิ่งต่างๆอย่างมีเหตุมีผล ผลงานต่างๆในเรื่องของความคิดมีมีข้อผูกมัดใดๆ ไม่มีถูกไม่มีผิดไม่มีกฎเกณฑ์ อย่างตายตัว แต่ต้องสามารถนำเสนอให้เขากับกลุ่มคนในสังคมได้ ฝึกการรับรู้อย่างเต็มที่นำเป็นแรงผลักดันให้เกิดหนทางใหม่ ทุกคนคิดไม่เหมือนเราและไม่จำเป็นต้องทำเหมือนเรา อย่าไปตีกรอบให้แนวคิดของคนอื่นที่มาขัดต่อแนวความคิดของเรา                                          - ใจเย็นทำจิตใจให้สงบสมชื่นแจ่มใส กลางคืนคิดงานไม่ออกไม่เป็นไร แบ่งเวลาค่อยๆคิดในตอนเช้าบ้างก็ได้ เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ต้องอาศัยประสบการณ์และแรงผลักดัน มาเป็นตัวประกอบในการรวบรวมความคิดที่ได้มา                                                                                                                                                                             - สร้างทักษะการเรียนรู้มองภาพที่เห็นในรูปแบบมิติต่างๆ การมองเห็นวัตถุอะไรก็ตาม ก็ต้องฝึกคิดและตีเส้นเป็นโครงสร้างรูปทรงแล้วจึงพยามยามบิดเบียนรูปทรง จะทำให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างออกไป                                                                                                                                                                                                             - เปลี่ยนแปลงความเชื่อ งมงาย อย่าตีกรอบความเชื่อเดิม ค้นหาความจริง มีความยืดหยุ่น ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ                                                                                                                                                                        - กล้าที่จะทำ ปลูกฝังแนวคิดใหม่ กระตุ้นเข้าไปแต่คงต้องศึกษารายละเอียดอะไรเดิมๆประกอบ      - มองทุกอย่างเป็นเรื่องสนุกและจะสนุกกับมัน ตัดอุปสรรคทิ้งไป
สรุป คือ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ สามารถแบ่งเป็นทั้งหมด ๔ ขั้น ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นครุ่นคิดหรือความคิดกำลังฟักตัว ขั้นการเกิดความคิดหรือคิดกระจ่างชัด และขั้นทดสอบและพิสูจน์

อ้างอิง
Guilford. (๑๙๕๙). ความหมายของความคิดสร้างสรรค์. หน้า ๓๘๙.

______. (๒๕๕๒).______. คู่มือครูนิทานเพื่อนรัก ระดับ ๒, ปีที่ ๘ (ฉบับที่ ๘๓),

วีณา ประชากูล. (๒๕๔๙). ______. วารสารวิชาการ, ปีที่ ๙ (ฉบับที่ ๔ ตุลาคม – ธันวาคม),

ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (๒๕๔๒). การศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญา และเรียนรู้ ภาควิชา    การศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ผู้ปกครองช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ของลูกปฐมวัยได้อย่างไร
. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.preschool.or.th/journal_create_parent.html

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเรียนรู้. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: www.seal2thai.org/sara/sara146.htm

______. (๒๕๕๔). ผลการจัดการเรียนการสอนและเจตคติต่อการเรียนการสอนตามการรับรู้

ของนักศึกษารายวิชาการคิดและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.ried.cmru.ac.th/UserFiles/File/classroom/tussanee.pdf

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) คือการคิดหลายๆแง่หลายๆทาง คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมี ออกรอบด้าน คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็น
คนที่มีความคิดริเริ่ม(Originality)  คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิดธรรมดาของคนทั่วๆไป
มีความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทางหลายแง่หลายมุม
มีความคิดคล่องแคล่ว(Fluency)  คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด
มีความคิดละเอียดลออ(Elaboration) คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สรุป คือ ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดของบุคคลที่มีความคิดเป็นของตนเอง มีความคิดที่กว้างขวางไม่มีข้อจำกัด มีความเฉียบคม คิดเร็ว และรอบคอบ

พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
                การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยมีแบบแผนที่แตกต่างกันออกไป จากพัฒนาการด้านอื่นๆ Torrance ได้สรุปพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์เด็กทารก ก่อนวัยเรียน ( อายุ 0-๖ ปี ) ว่าเด็กมีความสามารถพัฒนาจินตนาการได้ตั้งแต่ขวบปีแรกด้วยการเรียนรู้จากสิ่งเร้ารอบตัว เช่น เสียง จังหวะ เมื่ออายุ ๒ ขวบ ความกระตือรือร้นที่จะใช้ประสาทสัมผัสเริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ ช่วงอายุ ๒ ๔ ปี เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ตรง และประสาทสัมผัสที่พร้อมสำหรับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ เริ่มมีความรู้สึกเริ่มเป็นตัวของตัวเอง มักทำในสิ่งที่เกินความสามารถของตนเอง ชอบจินตนาการ จวบจนอายุช่วง ๔ ๖ ปี เด็กเริ่มสนุกสนานกับการวางแผน การเล่นและสามารถเชื่อโยงเหตุการณ์ต่างๆ แม้จะไม่เข้าใจในเหตุการณ์มากนัก เด็กชอบทดลองเล่นบทบาทสมมติต่างๆ โดยใช้จินตนาการของเด็กเอง
                ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะของความคิดส่วนบุคคลที่สามารถคิดได้อย่างหลากหลายและคิดได้อย่างคล่องแคล่ว เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดขึ้น ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ เราสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก สามารถสรุปได้ ดังนี้
๑.      มีความกระหายใคร่รู้อยู่เป็นนิจ กระตุ้นความคิดด้วยความอยากรู้อยากเห็น
๒.    ชอบสืบเสาะแสวงหา สำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและทดลอง
๓.     ชอบซักถาม พูดคุยและตั้งคำถามที่แปลกๆ
๔.     ช่างสงสัยและแปลกประหลาดใจในสิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอ
๕.     ช่างสังเกต จดจำ และค้นพบสิ่งที่ขาดหายไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
๖.      ชอบแสดงออกมากกว่าเก็บกด ถ้าเกิดข้อสงสัยจะต้องรีบหาคำตอบโดยไม่ต้องรีรอ
๗.     มีอารมณ์ขันเสมอ สร้างความสุขในโลกส่วนตัวด้วยมุมมองที่แปลก
๘.     มีสมาธิในสิ่งที่ตนสนใจ
๙.      พึงพอใจและสนุกสนานกับการใช้ความคิด
๑๐.  สนใจสิ่งต่างๆอย่างกว้างขวาง
๑๑. มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เปิดกว้างทางความคิดเพื่อพิจารณา
๑๒.                        มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความเชื่อมั่นทางความคิดและการกระทำ
๑๓.มีความสามารถทางด้านการจินตนาการ ชอบคิดหาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้แก้ปัญหา
สรุป คือ เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งเราสามารถสังเกตและส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดให้เป็นบุคคลที่สร้างสรรค์สังคมและตนเองได้เป็นอย่างดี การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝน โดยเน้นกระบวนการ เทคนิควิธีเป็นสำคัญ มากกว่าการเรียนรู้ที่ตัวเนื้อหาสาระ เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดีที่แฝงเร้นภายใต้ตัวตนของบุคคล การส่งเสริม และพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่เยาว์วัยจึงสามารถที่จะกระทำได้ โดยอาศัยเทคนิควิธีการต่างๆอย่างหลากหลาย

อ้างอิง
Guilford. (๑๙๕๙). ความหมายของความคิดสร้างสรรค์. หน้า ๓๘๙.

______. (๒๕๕๒).______. คู่มือครูนิทานเพื่อนรัก ระดับ ๒, ปีที่ ๘ (ฉบับที่ ๘๓),

วีณา ประชากูล. (๒๕๔๙). ______. วารสารวิชาการ, ปีที่ ๙ (ฉบับที่ ๔ ตุลาคม – ธันวาคม),

ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (๒๕๔๒). การศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญา และเรียนรู้ ภาควิชา    การศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ผู้ปกครองช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ของลูกปฐมวัยได้อย่างไร
. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.preschool.or.th/journal_create_parent.html

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเรียนรู้. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm

______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: www.seal2thai.org/sara/sara146.htm

______. (๒๕๕๔). ผลการจัดการเรียนการสอนและเจตคติต่อการเรียนการสอนตามการรับรู้

ของนักศึกษารายวิชาการคิดและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. วันที่ค้นข้อมูล  ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.ried.cmru.ac.th/UserFiles/File/classroom/tussanee.pdf

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
นักจิตวิทยาและนักการศึกษา ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ ดังนี้ กิลฟอร์ด (Guilford. ๑๙๙๑: ๑๒๕-๑๔๓) ได้กำหนดองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
๑. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่ายๆ ที่เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
๒. ความคิดคล่องตัว (Fluency) หมายถึง เป็นความคิดในเรื่องเดียวกันที่ไม่ซ้ำกัน ในองค์ประกอบนี้ความคิดจะโลดแล่นออกมามากมาย
๓. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิดที่พยายามคิดได้หลายอย่างต่างๆ กัน เช่น ประโยชน์ของก้อนหินมีอะไรบ้าง หรือความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลงสิ่งต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
๔. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) เป็นความคิดที่ต้องทาด้วยความระมัดระวังและมีรายละเอียดที่สามารถทำให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสมบูรณ์ขึ้นได้ ดาลตัน (Dalton. ๑๙๘๘: ๕-๖) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบ ๘ ประการ โดย ๔ องค์ประกอบแรกเป็นความสามารถทางสติปัญญาและ ๔องค์ประกอบหลังเป็นความสามารถทางด้านจิตใจและความรู้สึก ดังนี้
๑. ความคิดริเริ่ม (Originality)
๒. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
๓. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
๔. ความประณีตหรือความละเอียดลออ (Elaboration)
๕. ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity)
๖. ความสลับซับซ้อน (Complexity)
๗. ความกล้าเสี่ยง (Risk - taking)
๘. ความคิดคำนึงหรือจิตนาการ (Imagination)
อารี พันธ์มณี กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง หรือเรียกว่าลักษณะการคิดแบบอเนกนัยหรือการคิดแบบกระจาย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้
๑. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดธรรมดาหรือที่เรียกว่า wild idea เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการนาเอาความรู้เดิมมาคิดดัดแปลง และประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่
. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และมีปริมาณที่มากในเวลาที่จำกัด แบ่งออกเป็น
๒.๑ ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word fluency) เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่วนั่นเอง
๒.๒ ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational fluency) เป็นความสามารถที่หาถ้อยคำที่เหมือนกันหรือคล้ายกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
๒.๓ ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional fluency) เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
๒.๔ ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ความคล่องในการคิดมีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาเพราะในการแก้ปัญหาจะต้องแสวงหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขหลายวิธี และต้องนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้องตามที่ต้องการ
๓. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทและหลายทิศทางซึ่งแบ่งออกเป็น
๓.๑ ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous flexibility) เป็นความสามารถที่จะคิดได้หลากหลายอย่างอิสระ
๓.๒ ความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลง (Adaptive flexibility) ซึ่งเป็นความสามารถที่จะคิดได้หลากหลายและสามารถคิดดัดแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นหลายสิ่งได้
๔. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้ได้ความหมายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

สรุป พฤติกรรมที่เป็นความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นความสามารถทางการคิดหลายทิศทาง (Divergent thinking) ที่ควรประกอบด้วยความคิดคล่องแคล่ว ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดละเอียดลออ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์

2.ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญเพราะเป็นวิธีการคิดที่จะช่วยให้บุคคลมีความสามารถในการคิดเข้าใจปัญหาสามารถแก้ไขและคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทำให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาได้ดี ซึ่งได้มีผู้กล่าวถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ไว้หลายท่าน ดังนี้
เฮอร์ลอค (Hurlock. ๒๐๐๙: ๓๑๙) กล่าวถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ให้ความสนุกความสุขและความพอใจแก่ผู้เรียนและมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของผู้เรียนมากไม่มีอะไรที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกหดหู่ใจได้เท่ากับงานสร้างสรรค์ของเขาถูกตำหนิถูกดูถูกหรือถูกว่า สิ่งที่เขาสร้างขึ้นนั้นไม่มีคุณค่า เจอร์ซิลด์ (Jersild. ๒๐๐๙: ๑๕๓-๑๕๘) กล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อการเรียนที่ส่งเสริมผู้เรียนในด้านต่างๆ ดังนี้
๑. ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ ผู้เรียนจะชื่นชมและมีทัศนะคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ ที่เขาคิดขึ้นมาซึ่งผู้สอนควรทำเป็นตัวอย่าง โดยการยอมรับและชื่นชมในผลงานของผู้เรียนการพัฒนาสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นว่า ผลงานที่ผู้เรียนคิดหรือสร้างขึ้นมามีความหมายสำหรับตัวเขา และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสังเกตสิ่งที่แปลกจากสิ่งธรรมดาสามัญ ให้ได้ยินในสิ่งที่ไม่เคยได้ยินและหัดให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว 
๒.  เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ การทำงานอย่างสร้างสรรค์เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความกดดัน ความคับข้องใจ และลดความก้าวร้าว
๓.  สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี ในขณะที่ผู้เรียนทำงานผู้สอนควรสอนระเบียบและนิสัยที่ดีในการทำงานควบคู่ไปด้วยเช่น หัดให้ผู้เรียนรู้จักเก็บสิ่งของให้เป็นที่ ล้างมือเมื่อทำงานเสร็จ
๔. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาผู้เรียนส่วนใหญ่จะชอบทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เขาได้ใช้จินตนาการในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นผู้สอนจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้จินตนาการของเขาในการพัฒนาการทดลองสร้างสิ่งใหม่เช่น ฝึกให้ผู้เรียนสมมติตนว่าเป็นนักก่อสร้างหรือสถาปนิก
                สรุป คือ ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆในการดำเนินชีวิตและหนทางใหม่ๆในการแก้ปัญหาชีวิตและการทำงาน ทำให้เกิดความสนุก พัฒนาสมองของคนให้มีความฉลาดเฉียบคม เพิ่มขึ้นสร้างความเชื่อมั่น ความน่านับถือและความพอใจในตัวเองขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่เราพัฒนาขีดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์จนสามารถเผชิญหน้าและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างราบรื่น ก็จะกลายเป็นผู้นำทางด้านความคิดและเกิดความภูมิใจในตนเอง

หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

1.ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความสามารถทางการคิดอย่างหนึ่งของสมองมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคลทุกคนอาจจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไปมีนักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ไว้ ดังนี้
กิลฟอร์ด (Guilford. ๑๙๕๙: ๓๘๙) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองเป็นความสามารถที่จะคิดได้กว้างไกลหลายทิศทางหรือที่เรียกว่าแบบอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งลักษณะความคิดเช่นนี้ จะนาไปสู่การคิดประดิษฐ์แปลกใหม่รวมถึงการคิดค้นพบวิธีการแก้ปัญหาได้สำเร็จอีกด้วย และความคิดสร้างสรรค์นี้จะประกอบด้วยความคล่องในการคิด (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และความคิดแปลกใหม่ (Originality) คนที่มีลักษณะดังกล่าวจะต้องเป็นคนกล้าคิด ไม่กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์และมีอิสระในการคิด
ออสบอร์น (Osborn. ๑๙๕๗: ๒๓) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นจินตนาการประยุกต์ (Applied imagination) คือเป็นจินตนาการที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหายุ่งยากที่มนุษย์ประสบอยู่ มิใช่เป็นจินตนาการที่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยโดยทั่วไป ความคิดจินตนาการจึงเป็นลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ในการนาไปสู่ผลผลิตที่แปลกใหม่และเป็นประโยชน์
แอนเดอร์สัน (Anderson. ๑๙๕๙: ) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ว่า ความคิดสร้างสรรค์คือความสามารถของบุคคลในการคิดแก้ปัญหาด้วยการคิดอย่างลึกซึ้งที่นอกเหนือไปจากการคิดอย่างปกติธรรมดา ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะภายในตัวบุคคลที่สามารถจะคิดได้หลายแง่หลายมุม และผสมผสานจนได้ผลผลิตใหม่ที่ถูกต้องสมบูรณ์กว่า
เกทเซลส์ และแจ็คสัน (Getzels & Jackson. ๑๙๖๒: ๔๕๕-๔๖๐) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะการคิดที่หาคำตอบหลายๆ คาตอบในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีอิสระในการตอบสนอง จึงจะสามารถตอบได้มาก
ทอร์แรนซ์ (Torrance. ๑๙๗๑: ๒๑๑) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์คือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่มีขอบเขตจากัด บุคคลสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ในหลายแบบและผลของความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมายไม่มีข้อจำกัดเช่นกัน
เมดนิค (Mednick. ๒๐๐๔: ๑๙๖) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์คือความสามารถเชื่อมโยงสัมพันธ์องค์ประกอบในแบบใหม่ๆได้ และถ้าสิ่งที่นำมาเชื่อมโยงกันนั้นมีความห่างไกลกันมากเพียงใดการเชื่อมโยงสัมพันธ์ก็มีความสร้างสรรค์มากขึ้นเพียงนั้น
วอลลาช และโคแกน (Wallach & Kogan. ๒๐๑๐: ๑๘) ได้กล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความคิดโยงสัมพันธ์ได้ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์คือคนที่สามารถคิดอะไรได้อย่างสัมพันธ์กันเป็นลูกโซ่ยิ่งคิดได้มากเท่าไรยิ่งแสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์มากเท่านั้น
สรุป  ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดของแต่ละบุคคลที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์สถานการณ์ ปัญหา หรือ เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางหลายทิศทาง โดยสามารถคิดดัดแปลง ผสมผสานความคิดเดิม ให้เกิดเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ และมีประโยชน์