กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์
กระบวนการคิดสร้างสรรค์(Creative process)
กระบวนการคิดสร้างสรรค์คือ
วิธีคิดหรือกระบวนการทำงานของสมองที่มีขั้นตอนต่างๆในการคิดแก้ปัญหาจนสำเร็จ
ซึ่งมีหลายแนวคิดเช่น
Wallas ได้เสนอว่ากระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการคิดสิ่งใหม่ๆโดยการลองผิดลองถูก
ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนคือ
๑.
ขั้นเตรียมการ
คือการข้อมูลหรือระบุปัญหา
๒.
ขั้นความคิดกำลังฟักตัว
คือการอยู่ในความสับสนวุ่นวายของข้อมูลที่ได้มา
๓.
ขั้นความคิดกระจ่างชัด
คือขั้นที่ความคิดสับสนได้รับการเรียบเรียงและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ทำให้เห็นภาพรวมของความคิด
๔.
ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง
คือขั้นที่รับความคิดเห็นจากสามขั้นแรกข้างต้นมาพิสูจน์ว่าจริงหรือถูกต้องหรือไม่
Hutchinson
มีความคิดคล้ายๆกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เข้าด้วยกัน
อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ที่คิดใช้เวลาการคิดเพียงสั้นๆอย่างรวดเร็วหรือยาวนานก็อาจเป็นไปได้
โดยมีลำดับการคิดดังนี้
๑.
ขั้นเตรียมเป็นการรวบรวมประสบการณ์
มีการลองผิดลองถูกและตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา
๒.
ขั้นครุ่นคิดขัดข้องใจ
เป็นระยะที่มีอารมณ์เครียด อันสืบเนื่องจากการครุ่นคิด แต่ยังคิดไม่ออก
๓.
ขั้นของการเกิดความคิด
เป็นระยะที่เกิดความคิดในสมอง เป็นการมองเห็นวิธีแก้ปัญหาหรือพบคำตอบ
๔.
ขั้นพิสูจน์
เป็นระยะการตรวจสอบประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ต่างๆเพื่อดูคำตอบที่คิดออกมานั้นเป็นจริงหรือไม่
Roger von Oech
เจ้าของบริษัทความคิดสร้างสรรค์ในอเมริกาได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์
โดยแยกความคิดออกเป็น ๒ ประเภทคือความคิดอ่อนและความคิดแข็ง
ความคิดอ่อน
|
ความคิดแข็ง
|
อุปมาอุปมัย
|
หลักการ
|
ความฝัน
|
เหตุผล
|
ความขำขัน
|
ความแม่นยำ
|
ความคลุมเครือ
|
ความสม่ำเสมอ
|
การเล่น
|
การทำงาน
|
การประมาณการ
|
ความพอดิบพอดี
|
ความใฝ่ฝัน
|
ความเป็นจริง
|
ความขัดแย้ง
|
ตรงไปตรงมา
|
การสังหรณ์ใจ
|
การวิเคราะห์
|
โดยทั่วไป
|
อย่างเฉพาะเจาะจง
|
อย่างเด็ก
|
อย่างผู้ใหญ่
|
ความคิดแข็ง
นั้นจะมีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างแน่นอน
แต่ความคิดอ่อนนั้นอาจมีคำตอบที่ถูกหลายอย่าง
ซึ่ง ฟอนโอช ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าประกอบด้วย ๒ ขั้นตอนคือ
กระบวนการเพาะตัวและกระบวนการปฏิบัติการ
โดยกระบวนการเพาะตัวเป็นการสร้างความคิดใหม่ ในขณะที่กระบวนการปฏิบัติการเป็นการใช้ความคิดที่คิดขึ้นมาไปปฏิบัติงานจริง
ความคิดอย่างอ่อน เป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเพาะตัว
ซึ่งเป็นระยะที่กำลังมองหาความคิดใหม่ๆ
เป็นการมองที่กว้างๆเพื่อหาวิธีการต่างๆมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา
ส่วนความคิดอย่างแข็งนั้นมักใช้ในช่วงการปฏิบัติงานจริงๆ
เมื่อต้องการประเมินความคิดและขจัดสิ่งต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแก้ปัญหาออกไป
ตรวจดูผลดีผลเสียและความเสี่ยงรวมทั้งการเตรียมที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นการกระทำด้วย
กระบวนการของการคิดสร้างสรรค์
มนุษย์มีวิวัฒนาการทางความคิดแตกต่างกันออกไป
ทางด้านสมองซีกซ้าย ประสานการทำงานสมองซีกขวา เกิดแรงบันดาลใจ
สร้างสิ่งต่างๆรอบตัว ในเรื่องความคิดสร้างสรรค์
มีอยู่ทุกคนที่ต้องอาศัยประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม
หรือการจดจำมากระตุ้นให้เกิดมโนทัศน์ทางจินตนาการ เป็นการแสวงหาความต้องการ
ที่จะพัฒนาให้เกิดสิ่งใหม่กับโลกใบนี้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ขีดจำกัดของมนุษย์คือความคิดที่หยุดนิ่ง
ไม่สามารถต่อยอดต่อไปได้ เกิดจากปัญหาของช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น
ในสภาพวะที่ร่างกายอยากพักผ่อน การกระทบแรงกดดันอะไรที่สูง
หรือแม้แต่การไม่เปิดใจรับอะไรใหม่ๆที่เกิดขึ้น ทำให้เราไม่สามารถควบคุมความคิดได้เป็นการปิดกั้นจิตนาการ สมองเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท
เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และจัดระเบียบ การทำงานทุกชนิด ของร่างกาย สมองของมนุษย์
ประกอบด้วยเซลล์ สมอง ประมาณ ร้อยล้านล้านเซลล์ เป็นจำนวนที่ไม่แตกต่างกัน ระหว่าง
ทารกแรกเกิดกับผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่เซลล์สมอง จะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า และจะมีจำนวน
เดนไดรท์ (dendrite)
ของเซลล์สมองมากขึ้น ทำให้การเชื่อมโยงระหว่าง เซลล์สมองมากขึ้น
โดยเซลล์สมองเซลล์หนึ่ง ๆ จะเชื่อมโยงไปยังเซลล์สมองเซลล์อื่น ๆ
อีกสองหมื่นห้าพันเซลล์ เพื่อส่งข่าวสารกัน โดยกระแสประสาท
จะเกิดปฏิกิริยาเรียกว่า synapse แล้วแต่ว่าจะเป็นด้านรับ-
ส่งสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ความรู้สึก ความจำ
อารมณ์ทั้งหลาย ฯลฯ จึงผสมผสานกันขึ้นกลายเป็นการเรียนรู้นำ ไปสู่การปรับตัว
อย่างเฉลียวฉลาดของมนุษย์แต่ละคน ( พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์, ๒๕๔๒ :๗)* รอเจอร์
สเพอร์รี และ รอเบิร์ต ออร์นสไตน์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนียได้รับรางวัลโนเบลในปี
ค. ศ. ๑๙๗๒ จากการค้นพบ ว่า สมองของคนเราแบ่งออกเป็น ๒ ซีก คือสมองซีกซ้าย (Left
Hemisphere) กับสมองซีกขวา (Right Hemisphere) และแต่ละซีก มีหน้าที่ที่แตกต่างกันดังนี้
สมองซีกซ้าย สมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ใน
เรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ ๑.
การคิดในทางเดียว ( คิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง) ๒.
การคิดวิเคราะห์ ( แยกแยะ) ๓.
การใช้ตรรกศาสตร์และการใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ ๔. การใช้ภาษา
มีทั้งการอ่านและการเขียน
สรุปได้ว่าสมองซีกซ้ายจะควบคุมดูแลพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล
การคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นลักษณะ การทำงานในสาย ของวิชาทางวิทยาศาสตร์ ( Sciences ) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้สมองซีกซ้ายยังเป็น ตัวควบคุม การกระทำ การฟัง
การเห็น และ การสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกายทางซีกขวา
“ความคิดสร้างสรรค์ คือ
กระบวนการที่บุคคลไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป
หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆ
ไวต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา
ไวต่อการเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดสอบและทดสอบอีกครั้งเกี่ยวกับสมมติฐาน
จนในที่สุดสามารถนำเอาผลที่ได้ไปแสดงให้ปรากฏแก่ผู้อื่นได้” (Torrance, 1962) ความคิดสร้างสรรค์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันในทุกสายอาชีพ
หลายๆศาสตร์ความรู้ ทั้งทางด้านจิตวิทยา, วิทยาการการรู้,
การศึกษา, ปรัชญา
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาทางวิทยาศาสตร์), เทววิทยา, สังคมวิทยา, ภาษาศาสตร์, ธุรกิจศึกษา
และเศรษฐศาสตร์
โดยเฉพาะสายอาชีพด้านการออกแบบที่จะใช้สมองซีกซ้ายในคิดเป็นส่วนใหญ่ อย่างที่
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวเยอรมัน ทั่วโลกต่างรู้จักกันดี กล่าวว่า “จิตนาการสำคัญกว่าความรู้” หากมองในภาพของความรู้
ความรู้คือการทำความเข้าใจกับบางสิ่งที่เราอยากจะรู้หรือเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจะรู้แต่โดนสถานการณ์บังคับให้รับรู้
ส่วนในเรื่องของจิตนาการการคือความฝันของเราที่อาจเป็นจริงได้หรือไม่เป็นจริงเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง ในรูปแบบของการคิดสร้างสรรค์มีอยู่มากมาย
กล่าวสรุปได้เป็นเรื่องของ 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ สังเกต +เพ้อฝัน
การจดจำหรือการบันทึกที่จะสะสมประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอน
ทำงาน และการนอนหลับ ตื่นมาเราทำอะไรบ้าง ฝึกคิดและมองสิ่งที่อยู่รอบตัว
การจดบันทึกจะช่วยให้เกิดทักษะการจำมากระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ เช่น
ขณะโดยสารรถประจำทาง มองไปรอบๆด้าน จะทำให้เกิดความคิดต่างๆที่จะแก้ปัญหามากมาย
ในรูปแบบของการเพ้อฝันไปสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย ในความคิดหลายแง่มุม
มานำเสนอให้เกิดรูปแบบทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมต่าง โดยต้องอาศัยวิธีการต่างๆ
คิดนอกเรื่อง คิดนอกกรอบ
ตั้งคำถามประเด็นว่าทำไม แล้วจะเป็นไปได้ไหม ชาวญี่ปุ่นจะขายแตงโม
แต่ทำยังไงให้เป็นเอกลักษณ์และตั้งคำถามว่าทำไมแต่งโมต้องเป็นรูปกลม
ปัจจัยอันนี้ทำให้เกิดแรง ผลักดันในการค้นหาตัดต่อพันธุกรรมของแตงโมสุดท้ายได้ลูกแตงโมที่แปลกตาออกไป
เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสีเขียวรสชาติคงเดิมแต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือความแปลกใหม่ให้กับผู้พบเห็น
ค้นหาแรงผลักดัน มาเป็นสิ่งเร้าในการค้นหา
การพยายามสร้างแรงผลักดันจะช่วยเสริมให้เราสามารถคิดอะไรที่แตกต่างออกไป การนำสิ่งต่างๆที่เรามองออกไปจากรอบตัวเรามากระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ
ต้องอาศัยการเพ้อฝันในบางครั้ง จะช่วยให้มีแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากกรอบเดิม
มองเรื่องง่ายๆ
ผลงานการออกแบบทีได้รับรางวัลมากมาย ในเรื่องของการโดนใจกรรมการมากที่สุด
จะเป็นการนำเสนอในเรื่องความโดดเด่นของอัตตาลักษณ์
ที่มองเรื่องง่ายๆของการนำเสนอแล้ว ดึงดูดความสนใจ
บางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดอะไรเยอะ ซับซ้อน มองหาความเรียบง่าย
รูปทรงเรขาคณิตมีใช้ในการออกแบบอย่างแพร่หลาย
หรือภาพเขียนในสมัยก่อนใช้รูปร่างของธรรมชาติในการบันทึกความเป็นมาในสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี
พัฒนารูปแบบเดิมๆ
สิ่งที่เดิมๆเก่าแก่ก็มีคุณค่า แต่ต้อรับกับสมัยนิยมในปัจจุบัน
การนำรูปแบบที่มีอยู่เดิมมาต่อยอดความคิดจะช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆได้ดีขึ้นไป
มีความสมบูรณ์มากขึ้น ตอบสนองความต้องการได้ดี
อารมณ์ดี คิดบวก เป็นการมองภาพสร้างความเชื่อมันให้กับตัวเองเชื่อในสิ่งที่ตัวเองจะทำ
เป็นการเสริมแรงความมั่นใจและมีทัศนะคติที่ดีในการคิดสร้างสรรค์ เช่น
การสร้างอารมณ์จากการฟังเพลง การฟังเสียงจากธรรมชาติ หรือการนั่งพักผ่อนหรือ ฝึกสมาธิ
การควบคุมจิตใต้สำนึกให้ สดใส สดชื่น เบิกบาน เป็นการเปิดสมอง
ให้มีความคิดอะไรใหม่
ฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ
บางทีจิตนาการความคิดอาจหยุดลง หากมีตัววัฒนธรรมต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง
แต่ถ้ามั่นใจว่าเป็นสิ่งที่ดีงามหรือสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคม
อาจจะอาศัยแนวคิดเก่ามาผสมกับแนวคิดให้ลองฉีกกรอบแนวคิดและกลับเข้าสู่ความจริงดูความเหมาะสมว่าเป็นไปได้หรือไม่
เปิดใจแลกเปลี่ยนทัศนะ
ยอมรับความคิดเห็นมุมมองใหม่ หรือเรียกว่า
ไม่ปิดกั้นตัวเองในการเสพความรู้ประสบการณ์ต่างๆ
มาแลกเปลี่ยนความคิดยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นจะช่วยให้มีสัมพันธภาพและมีพัฒนาการความคิดดี
ความคิดสร้างสรรค์มีการพัฒนาการอยู่เรื่อย
เป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงาน ให้เป็นที่ยอมรับแก่มวลชน กิลฟอร์ด* * กล่าวถึงบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่า
“จะต้องมีความฉับไวที่รู้ปัญหาและมองเห็นปัญหา
มีความว่องไวและสามารถจะเปลี่ยนความคิดใหม่ๆได้ง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของชีวิตที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงจึงจะทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างมีความสุข
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
โดยปกติคนเราทั่วไปมักเลือกวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหามากกว่าการเผชิญปัญหา ซึ่งถ้าคนเรารู้จักที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานร่าเริงและความสุขมากยิ่งขึ้น” โดยวิธีการในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
มีกระบวนการคิดกระบวนการค้นหาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่ในแต่ละบุคคล
แต่ละสภาพแวดล้อม มีหลากหลายรูปแบบต่างๆ เช่น -
ฝึกฝนที่จะเรียนรู้และพยายามกระตุ้นค้นหาความรู้
คือความพร้อมใจที่อยากจะรู้ในเรื่องที่เราสนใจเป็นเรื่องราวในการฝึกคิดฝึกทักษะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า -
ยอมรับฟังผลงานเปิดใจกว้างในการเสพสิ่งต่างๆอย่างมีเหตุมีผล
ผลงานต่างๆในเรื่องของความคิดมีมีข้อผูกมัดใดๆ ไม่มีถูกไม่มีผิดไม่มีกฎเกณฑ์
อย่างตายตัว แต่ต้องสามารถนำเสนอให้เขากับกลุ่มคนในสังคมได้
ฝึกการรับรู้อย่างเต็มที่นำเป็นแรงผลักดันให้เกิดหนทางใหม่
ทุกคนคิดไม่เหมือนเราและไม่จำเป็นต้องทำเหมือนเรา
อย่าไปตีกรอบให้แนวคิดของคนอื่นที่มาขัดต่อแนวความคิดของเรา -
ใจเย็นทำจิตใจให้สงบสมชื่นแจ่มใส กลางคืนคิดงานไม่ออกไม่เป็นไร
แบ่งเวลาค่อยๆคิดในตอนเช้าบ้างก็ได้
เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ต้องอาศัยประสบการณ์และแรงผลักดัน
มาเป็นตัวประกอบในการรวบรวมความคิดที่ได้มา -
สร้างทักษะการเรียนรู้มองภาพที่เห็นในรูปแบบมิติต่างๆ การมองเห็นวัตถุอะไรก็ตาม
ก็ต้องฝึกคิดและตีเส้นเป็นโครงสร้างรูปทรงแล้วจึงพยามยามบิดเบียนรูปทรง
จะทำให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ที่แตกต่างออกไป -
เปลี่ยนแปลงความเชื่อ งมงาย อย่าตีกรอบความเชื่อเดิม ค้นหาความจริง มีความยืดหยุ่น
ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ -
กล้าที่จะทำ ปลูกฝังแนวคิดใหม่
กระตุ้นเข้าไปแต่คงต้องศึกษารายละเอียดอะไรเดิมๆประกอบ - มองทุกอย่างเป็นเรื่องสนุกและจะสนุกกับมัน ตัดอุปสรรคทิ้งไป
สรุป คือ กระบวนการคิดสร้างสรรค์
สามารถแบ่งเป็นทั้งหมด ๔ ขั้น ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ
ขั้นครุ่นคิดหรือความคิดกำลังฟักตัว ขั้นการเกิดความคิดหรือคิดกระจ่างชัด
และขั้นทดสอบและพิสูจน์
อ้างอิง
Guilford.
(๑๙๕๙). ความหมายของความคิดสร้างสรรค์.
หน้า ๓๘๙.
______.
(๒๕๕๒).______. คู่มือครูนิทานเพื่อนรัก ระดับ ๒, ปีที่
๘ (ฉบับที่ ๘๓),
วีณา ประชากูล. (๒๕๔๙). ______. วารสารวิชาการ, ปีที่ ๙
(ฉบับที่ ๔ ตุลาคม – ธันวาคม),
ดร.พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์.
(๒๕๔๒). การศึกษาสำหรับเด็กบกพร่อง
ทางสติปัญญา และเรียนรู้ ภาควิชา การศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย.
(ม.ป.ป.). ผู้ปกครองช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ของลูกปฐมวัยได้อย่างไร. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.preschool.or.th/journal_create_parent.html
ของลูกปฐมวัยได้อย่างไร. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.preschool.or.th/journal_create_parent.html
______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเรียนรู้. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm
______. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์. วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: www.seal2thai.org/sara/sara146.htm
______. (๒๕๕๔). ผลการจัดการเรียนการสอนและเจตคติต่อการเรียนการสอนตามการรับรู้
ของนักศึกษารายวิชาการคิดและการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์.
วันที่ค้นข้อมูล ๕ มิถุนายน ๒๕๕๖, เวปไซด์: http://www.ried.cmru.ac.th/UserFiles/File/classroom/tussanee.pdf